วิธีการใช้ชุดทดสอบความเป็นกรด ด่างของน้ำ (TEST KIT)
1. การทดสอบค่าคลอรีนของน้ำภายในสระ ( CHLORINE )
1.1 เติมน้ำในสระลงในช่องเล็กถึงขีดที่กำหนด(ที่ระดับน้ำ 40 ซม.)
1.2 เติมน้ำยาหมายเลข 1 (คลอรีน เทส ) ลงไป 5 หยด
1.3 ปิดฝาและเขย่าสักระยะหนึ่ง
1.4 เทียบสีที่ปรากฏออกมากับตารางสีด้านข้างดู ดังนี้
- ถ้าสีที่ออกมาได้กว่าระดับ 1 แสดงว่า คลอรีนในน้ำน้อยเกินไป
- ถ้าสีที่ออกมาได้ระดับ 1.5 เป็นระดับที่พอดี
- ถ้าสีที่ออกมาได้ระดับสูงกว่า 3 เป็นระดับที่มากเกินไป ให้เว้นการเติมไว้จนกว่าค่า
- คลอรีนจะลดลงมาเหลือ 1.5 PPM (ยกเว้นซูเปอร์คลอรีนควรอยู่ที่ 3 PPM)
2. การทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำในสระ ( pH )
2.1 เติมน้ำยาหมายเลข 2 ลงไป 5 หยด แล้วเขย่า
2.2 เทียบสีที่ปรากฏออกมากับตารางสีดู ดังนี้
– ถ้าสีที่ออกมาอยู่ในระดับ 7.4-7.6 แสดงว่า ค่ากรดด่างอยู่ในระดับดี ( ถ้าใช้คลอรีน 90%ควรให้อยู่ในระดับ 7.4)
– ถ้าสีที่ออกมาอยู่ในระดับ 7.8 หรือสูงกว่าแสดงว่า ค่าความเป็นด่างสูงไปควรเติม กรดเกลือ 35% 1.2 กก ทิ้งไว้สัก 2 ชม. เช็คค่า pH อีกครั้งหากยังสูงให้เติมอีก 1 กก.เช็คดูจนกว่าค่า pH จะลงมาที่ 7.4- 7.62.3
ถ้าสีที่ออกมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 7.0 แสดงว่า ค่าความเป็นกรดสูงไปควรเติมโซดาแอช 1-2 กก ทิ้งไว้สัก 2 ชม. เช็คดู หากยังไม่ได้เติมโซดาแอชจนกว่า pH จะอยู่ที่7.4
ค่า PH ในสระว่ายน้ำ
– pH ใช้ในการวัดคำนวณไฮโดรอิออน (H+) ที่มีอยู่ในสารละลาย โดยใช้วัดระหว่าง 0 – 14 คือ pH ต่ำกว่า 7 เป็นกรด , pH = 7 เป็นกลาง และ pH มากกว่า 7 เป็นด่าง
– มาตรฐานสำหรับสระน้ำทั่วไปควรจะมี pH = 7.5 หรืออยู่ระหว่าง 7.2 – 7.8 ถ้า pH ต่ำมาก (เป็นกรด) จะเป็นผลให้คลอรีนสลายตัวอย่างรวดเร็วและเกิดการกัดกร่อนมากขึ้น ทั้งยังทำให้แสบตาเมื่อเล่นน้ำ ถ้า pH สูงเกินไปประสิทธิภาพของคลอรีนลดลง จะเกิดตะกรัน น้ำจะขุ่น และแสบตาเช่นกัน
– เมื่อ pH ต่ำกว่า 7.2 จะใช้โซดาแอช ( Na2 CO3)
– เมื่อ pH สูงกว่า 7.8 จะใช้กรดเกลือ ( HcI ) หรือ (NaHSO4)
การใช้สารเคมีชนิดต่างๆ
*ควรตรวจเช็คค่า PH และค่าคลอรีนทุกครั้งก่อนการเติมเคมี*
การเติมคลอรีน
สระว่ายน้ำจะต้องเติมคลอรีนทุกวันเนื่องจากฝุ่นละอองอันประกอบ ด้วยแบคทีเรีย และเชื้อตะไคร่น้ำมากมาย ซึ่งอาจเกิดเชื้อฟักตัวในสระ ทำให้น้ำขุ่นมัวได้ ตลอดจนฝุ่นละอองของโลหะและมีเศษใบไม้แห้งขนาดเล็กๆ อันจะทำให้เกิดสีขึ้น คลอรีนจะทำหน้าที่ฟอกจางสีเพื่อให้ได้น้ำที่ใสสะอาด การเติมคลอรีน จะต้องทำในเวลาหัวค่ำ เนื่องจากในเวลากลางวันน้ำมีอุณหภูมิสูง ทำให้คลอรีนระเหยตัวไว ค่าคลอรีนในสระว่ายน้ำที่เหมาะสมให้อยู่ที่ระหว่าง 1.0 – 3.0 PPM. ทำการตรวจวัดทุกๆวันโดยการใช้ชุดตรวจสอบในการวัด การใส่คลอรีน 90% ใส่ทุกๆ คืนในอัตราส่วน 300 กรัมต่อน้ำ 100 คิว จะได้ค่าคลอรีนประมาณ 1.0 – 1.5 PPM. เมื่อวัดในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น แนะนำให้รักษาค่าคลอรีนไว้ไม่ให้ ต่ำกว่า 1.0 PPM .เมื่อเวลา 10.00 น. เช้าของทุกวัน ในกรณีค่าคลอรีนมีไม่ถึงหรือมากเกินไปให้ปรับจำนวนการใส่คลอรีนมากน้อยตามความเหมาะสม
*หมายเหตุ PPM. คือ part per million (1 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน)
การเติมโซดาแอซ
เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง มีค่า pH ประมาณอยู่ที่ 14 ใช้ในการปรับสภาพน้ำในกรณีที่น้ำเป็นกรดที่มีค่า pH ที่ต่ำกว่า 6.8 โซดาแอซมีลักษณะผงสีขาว วิธีใช้คือเทโซดาแอซทีละน้อยลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่คนให้ละลายจนหมดแล้วจึงเทลงสระปริมาณในการใช้ครั้งละประมาณ 1.3 กิโลกรัม ใส่จนกว่าค่า ph จะสูงขึ้นจนอยู่ในระดับมาตรฐานคือ 7.2-7.6
* คลอรีนและโซดาแอช เติมพร้อมกันได้ ส่วนกรดเกลือต้องเติมห่างกันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
การเติมกรดเกลือแห้ง
เป็นสารมีคุณสมบัติเป็นกรดมีค่า pH อยู่ที่ 1.0 ใช้ในการปรับสภาพน้ำในกรณีที่ น้ำเป็นด่างมีค่า pH ที่สูงกว่า 7.8 กรดเกลือแห้งมีลักษณะเป็นผงสีขาว วิธีใช้คือกรดเกลือทีละน้อย ลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่คนให้ละลายจะหมดแล้วจึงเทลงสระ ปริมาณการใช้ประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อขนาดสระ 100 ลูกบาศก์เมตร ต่อวันใส่ทุกวันจนกว่าค่า pH จะลดลงอยู่ในระดับมาตรฐานที่ 7.2-7.6
การเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำ
เป็นน้ำยานี้จะมีคุณสมบัติในการควบคุมการเจริญเติบโตของตะไคร่ภายในสระว่ายน้ำ และจะมีคุณสมบัติช่วยทำให้น้ำมีสีฟ้าสดใสด้วย การเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำจะทำในเวลาเช้าเพราะไม่มีอันตรายใด และสามรถเล่นน้ำได้ทันที การเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำให้ผสมน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำ 9 ส่วนเสมอ โดยปกติให้ใช้ทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละครั้งในอัตราการใช้ 2 หรือ 3 ออนซ์ต่อน้ำในสระ 5,000 แกลลอน
การเติมน้ำยาเร่งการตกตะกอน
เป็นน้ำยาที่ช่วยแก้ปัญหาสภาพน้ำในสระมีลักษณะขุ่น เนื่องจากมีสารแขวนลอยมาก น้ำยาจะมีคุณสมบัติทำให้สารแขวนลอยมารวมตัวกันเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้นจนมีน้ำหนักมากพอที่จะตกตะกอนลงมาสู่ก้นสระ เทคนิคในการใช้น้ำยาเร่งการตกตะกอนคือเมื่อใส่ลงในสระแล้วต้องปิดระบบหมุนเวียนน้ำ เพื่อให้สารแขวนลอยตกตะกอน ทิ้งไว้ 1 คืน และต้องรีบดูดตะกอนออกตั้งแต่ช่วงเช้า เนื่องจากถ้าอุณหภูมิสูงตะกอนจะลอย ทำให้ดูดตะกอนออกได้ไม่หมด หรือใส่น้ำยาจับตะกอนในตอนกลางคืนหลังปิดให้บริการ เพื่อให้น้ำยาจับตะกอนทำปฏิกิริยากับตะกอน ทำให้ตะกอนที่แขวงลอยต่างๆ ในสระน้ำมีน้ำหนักมากขึ้นและตกลงสู่พื้นสระ แล้วค่อยดูตะกอนทิ้งตอนเช้า น้ำยาจับตะกอนนี้ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ อัตราการเติมน้ำยาจับตะกอนโดยปกติประมาณ 1 แกลลอนต่อน้ำในสระ 1,500 ลบ.เมตร
การเติมน้ำยาปรับสภาพน้ำใส
เป็นน้ำยาที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำเขียวที่เกิดจากการขาดการดูแล หรือน้ำขาดสารเคมี จึงทำให้ตะไคร่เกิดการเจริญเติบโตภายในสระมาก เป็นสาเหตุทำให้น้ำเขียว น้ำยาจะทำให้ตะไคร่ตายและตกตะกอนลงสู่ก้นสระ จากนั้นจึงทำการดูดตะกอนทำความสะอาดตามปกติ ปริมาณการใช้ ½ แกลลอน ต่อสระ 100 คิว(1 แกลลอนเท่ากับ 3.5 ลิตร)
น้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำ
น้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำ คือน้ำยาที่มีไว้ สำหรับวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำในสระน้ำ น้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำนั้นจะประกอบไปด้วยน้ำยา สำหรับวัดค่าคลอรีน และน้ำยาวัดค่าความเป็นกรด เป็นด่างของน้ำในสระน้ำหรือน้ำยาวัดค่า pH นั่นเองมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำในสระทุกวันเพื่อให้น้ำในสระมีคุณภาพตรงตาม ที่กำหนดไว้ โดยปกติจะมีการทดสอบทุกวัน เช้าและเย็น
วิธีการทดสอบ
1. นำหลอดทดสอบสภาพน้ำตักน้ำในสระโดยให้ตักน้ำที่ความลึกประมาณ 30 cm
2. หยดน้ำยาทดสอบสภาพน้ำอย่างละ 4 หยด โดยน้ำยาสีขาวใช้วัดค่าคลอรีน น้ำยาสีแดงใช้วัดค่าความเป็นกรดด่าง (pH)
3. ปิดฝาแล้วเขย่าๆหลอดทดสอบเพื่อให้น้ำยาทดสอบทำปฏิกิริยาเร็วขึ้น
4. เปรียบเทียบค่าสีที่ข้างหลอดทดสอบเพื่ออ่านค่า ค่า PH ในสระว่ายน้ำ pH ใช้ในการวัดคำนวณ ไฮโดร อิออน (H+) ที่มีอยู่ในสารละลาย โดยใช้วัดระหว่าง 0 – 14 คือ pH ต่ำกว่า 7 เป็นกรด , pH = 7 เป็นกลาง และ pH มากกว่า 7 เป็นด่าง มาตรฐานสำหรับสระน้ำทั่วไปควรจะมี pH = 7.5 หรืออยู่ระหว่าง 7.2 – 7.8 ถ้า pH ต่ำมาก (เป็นกรด) จะเป็นผลให้คลอรีนสลายตัวอย่างรวดเร็วและเกิดการกัดกร่อนมากขึ้น ทั้งยังทำให้แสบตาเมื่อเล่นน้ำ ถ้า pH สูงเกินไปประสิทธิภาพของคลอรีนจะลดลง จะเกิดตะกรัน น้ำจะขุ่น และแสบตาเช่นกัน
** การเพิ่ม (เมื่อ pH ต่ำกว่า 7.2 ) จะใช้โซดาแอช ( Na2 CO3) (เมื่อ pH สูงกว่า 7.8 ) จะใช้กรดเกลือ ( HcI ) หรือ (NaHSO4) **
การปฏิบัติและดูแลสระว่ายน้ำประจำวัน(ทำทุกวัน)
1. หลังทำความสะอาดสระแล้วเช็คค่าคลอรีน pH ในน้ำ
2. ปรับค่า pH อยู่ที่ 7.4-7.6 (P.H)
3. ปรับค่าคลอรีนอยู่ที่ 1 PPM ทุกวัน
4. การปรับค่าคลอรีน
ฤดูร้อน
– สระบ้านให้คลอรีนอยู่ที่ 2 ทำวันเว้นวัน
– สระบริการให้คลอรีนอยู่ที่ 3 ทำทุกวัน
ฤดูฝน
– สระบ้านให้คลอรีนอยู่ที่ 1.5 ทำวันเว้นวัน
– สระบริการให้คลอรีนอยู่ที่ 2 ทำทุกวัน
ฤดูหนาว
– สระบ้านให้คลอรีนอยู่ที่ 0.6 ทำวันเว้นวัน
– สระบริการให้คลอรีนอยู่ที่ 1.5 ทำทุกวัน
1. การซูเปอร์คลอรีน คือ การเติมคลอรีน 2-3 เท่าจากปกติคือ ให้ค่าคลอรีนอยู่ที่ 3-4 PPM สำหรับสระบ้านและสระบริการอยู่ที่ 4 PPM การซูเปอร์คลอรีนมักจะทำหลังจากที่มีคนลงเล่นน้ำจำนวนมาก หรือที่มีตะไคร่ทำลายแอมโมเนียและสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการซึ่งสระสมไว้ในน้ำสระบ้าน ควรซูเปอร์คลอรีน 2 อาทิตย์ครั้งสระบริการ- ควรซูเปอร์คลอรีนอาทิตย์ละครั้ง หรือ 2ครั้ง
2. การเติมสารส้มหรือสารจับตะกอนอื่น สารส้มจะใช้ในกรณีที่ใช้สระขุ่นและเขียวมีตะกอนมากก่อนจะเติมสารส้มต้องเติมโซดาแอช ก่อน เพื่อให้ค่าP.H. อยู่ที่ 8-9 จากนั้นจึงเติมสารส้มด้วยปริมาณน้ำส่วนจำนวนสารส้มดูจากตารางอัตราเคมีเมื่อเติมสารส้มแล้วให้เปิด มัลติพอร์ทวาล์ว ไปที่ตำแหน่งน้ำหมุนเวียนโดยไม่ผ่านเครื่องกรอง (RECIRCULATE) เปิดไว้ 2 ชม. แล้วปิดเครื่อง ขณะเปิดเครื่องให้คนลงไปตีสารส้มเพื่อให้ตกตะกอนทั้งหมด ทิ้งไว้ประมาณ 8-10 ชม. ตะกอนจะตกหมดทั้งสระ เมื่อตะกอนตกหมดแล้วให้ดูดตะกอนออกโดยเตรียมสายดูดต่างๆ ให้พร้อมหมุน MOTIPORTVALVE มัลติพอร์ทวาล์วไปที่ WASTE (ท่อน้ำทิ้ง)เพื่อให้ตะกอนทิ้งออกไปที่ท่อระบายน้ำทิ้ง(น้ำจะไม่ผ่านระบบการกรอง) เมื่อดูดตะกอนเสร็จแล้วให้ซูเปอร์คลอรีนปรับค่า pH
ข้อควรจำ
– หากใส่สารส้มไม่จำเป็นต้องใส่คลอรีน เมื่อดูดตะกอนแล้วจึงใส่คลอรีน
– ตะกอนจะตกดีมาก หากค่า pH อยู่ที่ 7.4- 7.6หมายเหตุ
– กรณีเติมสารส้ม จะต้องเติมโซดาแอชก่อน เพื่อเพิ่มค่า pH ให้สูงขึ้น อัตราส่วนโซดาแอช ประมาณ 30% ของสารส้ม เช่น สารส้ม 10 กก จึงต้องใช้โซดาแอช 3 กก. ควบคู่กันไปทั้งนี้ค่า pH จะต้องอยู่ที่ 7.4-7.6